วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4




子供の教育イラスト の写真素材・画像素材 Image 71877101.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.

         เนื้อหาที่เรียน
              การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้อธิบาย เทคนิคการสอนเด็กปฐมวัยควรสอนเด็กโดยการเริ่มจากสิ่งของจริงก่อน แล้วค่อยเป็น รูปภาพหรือสิ่งของต่างๆ

           เทคนิคการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
             ● นิทาน
             ● เพลง
             ● เกม
             ● คำคล้องจ้อง
             ● ปริศนาคำทาย
             ● บทบาทสมมุติ
             ● แผนภูมิภาพ
             ● การประกอบอาหาร

          สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
             สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ             
                     การบอกอันดับที่ของสิ่งของต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ ทีี่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า...เป็นการบอกอันดับที่
              สาระที่ 2 การวัด
                   การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหา ความยาวแนวตั้ง
              สาระที่ 3 เรขาคณิต
                   ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ
              สาระที่ 4 พีชคณิต           
                  แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ

              สาระที่ 5 การวเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                    การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถาม นำเสนอเป็นรูปภาพหรือกร
              สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์                                                                                         มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



      คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
           1. Learning          สาระการเรียนรูู้
           2. Skills                ทักษะ
           3. Geometry        เรขาคณิต
           4. Between          ระหว่าง
           5. Measuring       การวัด



        ประเมิน


           ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์และตอบคำถามและจดบันทึก 


           ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถาม
           ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนและค่อยข้างใจเย็นในการสอนมาก







วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปงานวิจัย




ดอกไม้สวยๆ Png



       งานวิจัย : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

         ผู้จัดทำการวิจัย กมลรัตน์ กมลสุทธิ


         กมลรัตน์ กมลสุทธิ. (2555). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์ดร.เยาวพา เดชะคุปต์, รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์.


บทที่ 1 บทนำ

        ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
             คณิตศาสตร์มีบทบาทอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดก็ตาม เด็กหรือผู้ใหญ่อยู่ที่ใด หรือสถานการณ์ใดการติดต่อสื่อสารด้วยข้อมูลหรือการประกอบกิจกรรมประจำวันคณิตศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าประสบการณ์ใน ชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และจำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์อยู่เสมอ ซึ่งการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับอื่น เนื่องจากพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างจากเด็กในวัยอื่นไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด การจัดประสบการณ์ทักษะคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ เป็นรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้เรียนรู้และซึมซับประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี (กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2551ข: 38) ในงานวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะกลุ่มคณิตศาสตร์เท่านั้น เพราะสภาพการศึกษากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ที่ ผ่านมาเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนพระแม่มารีมีปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่างและยังส่งผลกระทบต่อการศึกษากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป ด้วยเหตุผล ดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่เพราะคิดว่าการได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ตามแนว มอนเตสซอรี่จะส่งเสริมให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็น แนวทางแก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อ การส่งเสริมทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก ปฐมวัยต่อไป

ความมุ่งหมายของการวิจัย
       การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
      1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
      2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับ การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
        การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นวิธีการที่ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการครบทุกด้าน เช่น พัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหว (Control of movement) การควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือ แขนขาและตาทำงานประสานสัมพันธ์กัน (Coordination of movement)การพึ่งตนเอง (Independent) สมาธิและความตั้งใจ (Concentration) พัฒนาระเบียบวินัยให้กับเด็กทั้งระบบและลำดับ (Order) พัฒนาการปรับตนของเด็กให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (Orientation and adaptation to the environment) การยอมรับความบกพร่องว่าเป็นส่วนธรรมชาติของชีวิต ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพ ราะเป็นการเรียนรู้ที่ เริ่มต้นด้วยรูปธรรมก่อนแล้วจึงนำเด็กไปสู่สิ่งซึ่งเป็นนามธรรม เป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจาก วิ่งที่ง่ายไปสู่ สิ่งที่ยาก เป็นการเรียน รู้จากสิ่งเล็กไปสู่สิ่งที่ใหญ่ และหรือจากสิ่งใหญ่ไปสู่สิ่งเล็ก ซึ่งวิธีการของมอนเตสซอรี่ส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้นผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
        ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จาก 3 ห้องเรียน จำนวน 90 คน และเป็นกลุ่มที่เลือกเรียนมอนเตสซอรี่ จำนวน 4 กลุ่ม

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
       1. แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่
       2. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
       1. นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทดสอบก่อนการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่กับนักเรียนรายบุคคลจำนวน 12 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 15 ข้อ ข้อละ 3-4 นาที โดยประมาณคนละ 45-60 นาที
      2. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยสาธิตบทเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ให้กับนักเรียนรายบุคคลที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน คนละ 15-20 นาที จำนวน 15 กิจกรรม ซึ่ง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. - 11.00 น. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        1. ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัด ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัย ก่อนได้รับการจัด ประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับควรปรับปรุง (x = 13.58) หลังได้รับการ จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ใน ระดับดี (x = 27.17)
        2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการ จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

 สรุปผล
         1. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การ เรียงลำดับและการนับ 2. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบ ด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ

  อภิปรายผล
        1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยรวมประกอบด้วยด้านการจำแนก ด้านการเรียงลำดับและด้านการนับหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการ จัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ได้โดยเด็กเรียนรู้การใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
         2. ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวมอนเตสซอรี่ในด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดีและสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

    การนำข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
        1. ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางให้ทราบถึงวิธีการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัยตามแนวมอนเตสซอรี่ ซึ่งประกอบด้วย 15 กิจกรรม สามารถนำไปปรับใช้เพื่อประกอบการสอนคณิตศาสตร์ได้สำหรับเด็กปฐมวัยในระดับอายุ 5-6 ปีต่อไป
        2. อุปกรณ์ทุกชิ้นควรให้อยู่ในระดับสายตาและมือเด็กที่จะสามารถหยิบได้ด้วยตนเอง
        3. อุปกรณ์ควรอยู่ในตำแหน่งเดิมเสมอ ไม่ควรโยกย้ายหรือเปลี่ยนสลับที่บ่อยเกินไป เพื่อให้เด็กได้สัมผัสถึงความมั่นคงสม่ำเสมอ
        4. ครูควรดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตลอดเวลา
        5. ขณะที่ครูสาธิตบทเรียน ไม่ควรใช้คำพูดที่มากเกินไป เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาคำตอบด้วยตนเอง ครูพึงตระหนักว่าตนเองเป็นเพียงผู้แนะนำหรือชี้แนะเท่านั้น เด็กเป็นผู้ปฏิบัติงานด้วยตนเอง




ดอกไม้สวยๆ Png

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3





เด็กเล่น, เล่น, สวนสนุก, เด็กภาพ PNG และ PSD สำหรับดาวน์โหลดฟรี | เด็ก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.

         เนื้อหาที่เรียน
             การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบาย คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวของเราและตัวเด็ก เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจและการหายใจ เป็นคณิตศาสตร์เบื้องต้น  
         การทำงานของสมอง
             การซึบซับการรับรู้โดยการกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำต่อวัตถุ สอดคล้องกับการเรียนรู้เดิมสะท้อนออกมาเป็นการเรียนรู้ใหม่ปรับโครงสร้างทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่
            การทำงานของสมองมาสัมผัสกับอายุแล้วจัดลำดับตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
            ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทรับรู้และเคลื่อนไหว Sensori-Motor Stage แรกเกิด-2ปี ขั้นของประสาทสัมผัสทั้ง5
            ขั้นที่ 2  ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด  Preoperational Stage 2-7ปี
                    ● 2-4ปี เป็นขั้นอนุรักษ์ เด็กจะเด่นเรื่องของภาษา พูดตามที่เห็น
                    ● 4-7ปี เป็นขั้นที่เด็กมีเหตุผลมากขึ้น

           ด้านต่างๆที่ทำให้เด็กแตกต่างกัน
           → ครอบครัว คือการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่
           → สภาพแวดล้อม คือเพื่อนข้างบ้านในการเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมผัสที่ดีและไม่ดี
           → เศรษฐกิจ คือการเงิน ที่อยู่อาศัย
           → ค่านิยม คือวัฒนธรรมทางสังคม
     

        การลงมือกระทำเป็นอะไรของเด็ก ▸เป็นวิธีการ การที่เด็กลงมือทำ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นวิธีการเกิดการเรียนรู้
         วิธีการเรียนรู้ คือ การเล่น
         การเล่น คือ วิธีการเรียนรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่
 
           ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์
           บรูนเนอร์ ( Bruner ) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรูนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
       ทฤษฎีการเรียนรู้
         1. การจัดโครงสร้างความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
         2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
         3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
         4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
         5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
                ▪ ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage)
                ▪ ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
                ▪ ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)
         6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด

         7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)  
    กิจกรรมในห้องเรียน  อาจารย์ให้กระดาษ 1 เเผ่น เเละให้ทุกคน นำเสนอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ผ่านกระดาษ ในรูปเเบบการพับ การฉีก อื่นๆ 


        คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1Activity               กิจกรรม
          2The education     การศึกษา
          3. Brain                    สมอง
          4. Mathematics        คณิตศาสตร์
          5. To play                 การเล่น


        ประเมิน
           ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
           ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคน ตั้งใจเรียนและแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามช่วยกัน
           ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและอธิบายมอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด

          

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2




สื่อเด็กปฐมวัยbyครูการ์ตูน ने नई फ़ोटो... - สื่อเด็ก ...

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.


         เนื้อหาที่เรียน
            การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบาย การเปลี่ยนแปลงลักษณะพฤติกรรมของเด็กขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดูจากพ่อแม่และครู การปฏิสัมพันกับสิ่งแวดล้อม = มีการพัฒนาการ

        นิยามการพัฒนาการ
            ความสามารถของเด็กแต่ละช่วงอายุ
        
       ลักษณะการพัฒนาการ
            การพัฒนาการตามลำดับขั้นตอนของเด็กอย่างต่อเนื่อง เช่น คว่ำ คืบ คลาน นั่ง เดิน วิ่ง
    
         การจัดประสบการณ์ 
             การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย  การลงมือกระทำต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการของเด็กที่จะทำการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก

         การทำงานของสมอง
              ทำหน้าที่ซึมซับ ข้อมูลที่เรียนรู้และนำมาปรับโครงสร้างความรู้ใหม่

         ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
               พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว


           พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้

           1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)
             ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่นการไขว่คว้า การมองเห็น การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้

           2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)
      ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
            - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศนูย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น
            - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitve Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลขและสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน

           3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)
              ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ

           4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)
              เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอดคือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี

       
           คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

            1. Recognition   การรับรู้
            2. Parenting      การอบรมเลี้ยงดู
            3. Behavior       การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
            4. Interaction    การมีปฏิสัมพันธ์
            5. Absorption    การซึมซับ


       การประเมิน
           ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจฟังอาจารย์มอบหมายงานให้
          ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนทุกคนและช่วยกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
          ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์ได้อธิบายและมอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด   
   
   


           

            

         

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1



Image result for welcome


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.


        เนื้อหาที่เรียน
              วันนี้เป็นการเจอกันครั้งแรกของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้ยังไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ได้บอกเทคนิคการทำบล็อกเพื่อใช้เป็นแฟ้มสะสมงานของตนเอง ว่าจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำ
        1. บทความเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        2. วิจัยการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        3. นิทาน สื่อ เพลง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


        คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

         1. Learning         การเรียนรู้

         2. Thinking          การคิด
         3. The analysis      การวิเคราะห์
         4. The decision      การตัดสินใจ
         5. Research            วิจัย

   
        ประเมิน
           ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและฟังที่อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ 
           ประเมินเพื่อน   :   เพื่อนๆทุกคน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเทคนิคการทำบล็อกและมอบหมายงานที่ให้ทำ
           ประเมินอาจารย์  : อาจารย์ได้อธิบายเทคนิคการทำบล็อกและมอบมายงานให้นักศึกษาอย่างละเอียด


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคาร ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - ...