วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3





เด็กเล่น, เล่น, สวนสนุก, เด็กภาพ PNG และ PSD สำหรับดาวน์โหลดฟรี | เด็ก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.

         เนื้อหาที่เรียน
             การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบาย คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวของเราและตัวเด็ก เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจและการหายใจ เป็นคณิตศาสตร์เบื้องต้น  
         การทำงานของสมอง
             การซึบซับการรับรู้โดยการกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำต่อวัตถุ สอดคล้องกับการเรียนรู้เดิมสะท้อนออกมาเป็นการเรียนรู้ใหม่ปรับโครงสร้างทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่
            การทำงานของสมองมาสัมผัสกับอายุแล้วจัดลำดับตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
            ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทรับรู้และเคลื่อนไหว Sensori-Motor Stage แรกเกิด-2ปี ขั้นของประสาทสัมผัสทั้ง5
            ขั้นที่ 2  ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด  Preoperational Stage 2-7ปี
                    ● 2-4ปี เป็นขั้นอนุรักษ์ เด็กจะเด่นเรื่องของภาษา พูดตามที่เห็น
                    ● 4-7ปี เป็นขั้นที่เด็กมีเหตุผลมากขึ้น

           ด้านต่างๆที่ทำให้เด็กแตกต่างกัน
           → ครอบครัว คือการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่
           → สภาพแวดล้อม คือเพื่อนข้างบ้านในการเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมผัสที่ดีและไม่ดี
           → เศรษฐกิจ คือการเงิน ที่อยู่อาศัย
           → ค่านิยม คือวัฒนธรรมทางสังคม
     

        การลงมือกระทำเป็นอะไรของเด็ก ▸เป็นวิธีการ การที่เด็กลงมือทำ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นวิธีการเกิดการเรียนรู้
         วิธีการเรียนรู้ คือ การเล่น
         การเล่น คือ วิธีการเรียนรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่
 
           ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์
           บรูนเนอร์ ( Bruner ) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรูนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
       ทฤษฎีการเรียนรู้
         1. การจัดโครงสร้างความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
         2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
         3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
         4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
         5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
                ▪ ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage)
                ▪ ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
                ▪ ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)
         6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด

         7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)  
    กิจกรรมในห้องเรียน  อาจารย์ให้กระดาษ 1 เเผ่น เเละให้ทุกคน นำเสนอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ผ่านกระดาษ ในรูปเเบบการพับ การฉีก อื่นๆ 


        คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1Activity               กิจกรรม
          2The education     การศึกษา
          3. Brain                    สมอง
          4. Mathematics        คณิตศาสตร์
          5. To play                 การเล่น


        ประเมิน
           ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
           ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคน ตั้งใจเรียนและแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามช่วยกัน
           ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและอธิบายมอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคาร ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - ...