บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.
การจัดประสบการณ์
การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย การลงมือกระทำต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการของเด็กที่จะทำการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก
การทำงานของสมอง
ทำหน้าที่ซึมซับ ข้อมูลที่เรียนรู้และนำมาปรับโครงสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เนื้อหาที่เรียน
การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบาย
การเปลี่ยนแปลงลักษณะพฤติกรรมของเด็กขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
การเลี้ยงดูจากพ่อแม่และครู การปฏิสัมพันกับสิ่งแวดล้อม = มีการพัฒนาการ
นิยามการพัฒนาการ
ความสามารถของเด็กแต่ละช่วงอายุ
ลักษณะการพัฒนาการ
การพัฒนาการตามลำดับขั้นตอนของเด็กอย่างต่อเนื่อง
เช่น คว่ำ คืบ คลาน นั่ง เดิน วิ่ง
การจัดประสบการณ์
การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย การลงมือกระทำต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการของเด็กที่จะทำการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก
การทำงานของสมอง
ทำหน้าที่ซึมซับ ข้อมูลที่เรียนรู้และนำมาปรับโครงสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ
ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก
แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า
สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)
ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
เช่นการไขว่คว้า การมองเห็น การดู
ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ
เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)
ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ
2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น
สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์
หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศนูย์กลาง
คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น
- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้
นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitve Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ
4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น
รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ
เข้าใจความหมายของจำนวนเลขและสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)
ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้
สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)
เริ่มจากอายุ 11-15 ปี
ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอดคือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่
ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง
เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Recognition การรับรู้
2. Parenting การอบรมเลี้ยงดู
3. Behavior การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4. Interaction การมีปฏิสัมพันธ์
5. Absorption การซึมซับ
การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจฟังอาจารย์มอบหมายงานให้
ประเมินเพื่อน :
เพื่อนๆตั้งใจเรียนทุกคนและช่วยกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา
อาจารย์ได้อธิบายและมอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น