บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.
( เรียนชดเชย )
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เป็นการเรียนชดเชยและเป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์พูดคุย ถามความเข้าใจในเนื้อที่เรียนไปทั้งหมดหรือไม่เข้าใจอาจารย์ก็ทบทวนให้
ลักษณะพัฒนาการอย่างต่อเนื่องการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้น
นิยามพัฒนาการหรือความหมาย ความสามารถในช่วงอายุของแต่ละอายุและแต่ละวัย
การเอาสาระการเรียนรู้มาสอนเราต้องดูที่หลักสูตรที่มีอยู่ 4 สาระคือดังนี้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. บุคคลและสถานที่
3. ธรรมชาติ
4. สิ่งต่างๆรอบตัว
การออกแบบต้องอาศัยเทคนิคเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กสอนจากง่ายไปหายาก
การออกแบบมีเทคนิคดังนี้
1. นิทาน
2. คำคล้องจอง
3. เพลง
4. เกมส์
5. การตั้งคำถาม(ปลายเปิดให้เด็กแสดงความคิดเห็น เปิดกว้างไม่มีผิดมีถูก)
ที่เริ่มจากตัวเด็ก เพราะว่า เด็กจะเรียนรู้จากเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด
การใช้คำถามปลายเปิดในการถามเด็ก จะทำให้เด็กได้กล้าแสดงออก กล้าพูดตอบ
การฝึกฝนเป็นวิธีการไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยเนื่องจาก
1. การฝึกฝนทำให้เกิดแค่การจำ
2. การฝึกฝนทำให้เกิดความชำนาญ
แต่ไม่ได้สอดคล้องกับ วิธีการ เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพราะการที่เด็กจะเรียนรู้ได้ต้องผ่านการเล่น โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำต่อวัตถุ ได้เลือกและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีความสุข จึงเกิดการเรียนรู้
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Practice การฝึกฝน
2. Nature ธรรมชาติ
3. Development พัฒนาการ
4. Tale นิทาน
5. Ring คำคล้องจอง
ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและจดบันทัก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจเย็นค่อยๆอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างระเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น