วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปงานวิจัย




ดอกไม้สวยๆ Png



       งานวิจัย : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

         ผู้จัดทำการวิจัย กมลรัตน์ กมลสุทธิ


         กมลรัตน์ กมลสุทธิ. (2555). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์ดร.เยาวพา เดชะคุปต์, รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์.


บทที่ 1 บทนำ

        ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
             คณิตศาสตร์มีบทบาทอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดก็ตาม เด็กหรือผู้ใหญ่อยู่ที่ใด หรือสถานการณ์ใดการติดต่อสื่อสารด้วยข้อมูลหรือการประกอบกิจกรรมประจำวันคณิตศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าประสบการณ์ใน ชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และจำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์อยู่เสมอ ซึ่งการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับอื่น เนื่องจากพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างจากเด็กในวัยอื่นไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด การจัดประสบการณ์ทักษะคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ เป็นรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้เรียนรู้และซึมซับประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี (กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2551ข: 38) ในงานวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะกลุ่มคณิตศาสตร์เท่านั้น เพราะสภาพการศึกษากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ที่ ผ่านมาเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนพระแม่มารีมีปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่างและยังส่งผลกระทบต่อการศึกษากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป ด้วยเหตุผล ดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่เพราะคิดว่าการได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ตามแนว มอนเตสซอรี่จะส่งเสริมให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็น แนวทางแก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อ การส่งเสริมทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก ปฐมวัยต่อไป

ความมุ่งหมายของการวิจัย
       การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
      1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
      2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับ การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
        การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นวิธีการที่ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการครบทุกด้าน เช่น พัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหว (Control of movement) การควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือ แขนขาและตาทำงานประสานสัมพันธ์กัน (Coordination of movement)การพึ่งตนเอง (Independent) สมาธิและความตั้งใจ (Concentration) พัฒนาระเบียบวินัยให้กับเด็กทั้งระบบและลำดับ (Order) พัฒนาการปรับตนของเด็กให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (Orientation and adaptation to the environment) การยอมรับความบกพร่องว่าเป็นส่วนธรรมชาติของชีวิต ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพ ราะเป็นการเรียนรู้ที่ เริ่มต้นด้วยรูปธรรมก่อนแล้วจึงนำเด็กไปสู่สิ่งซึ่งเป็นนามธรรม เป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจาก วิ่งที่ง่ายไปสู่ สิ่งที่ยาก เป็นการเรียน รู้จากสิ่งเล็กไปสู่สิ่งที่ใหญ่ และหรือจากสิ่งใหญ่ไปสู่สิ่งเล็ก ซึ่งวิธีการของมอนเตสซอรี่ส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้นผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
        ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จาก 3 ห้องเรียน จำนวน 90 คน และเป็นกลุ่มที่เลือกเรียนมอนเตสซอรี่ จำนวน 4 กลุ่ม

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
       1. แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่
       2. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
       1. นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทดสอบก่อนการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่กับนักเรียนรายบุคคลจำนวน 12 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 15 ข้อ ข้อละ 3-4 นาที โดยประมาณคนละ 45-60 นาที
      2. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยสาธิตบทเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ให้กับนักเรียนรายบุคคลที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน คนละ 15-20 นาที จำนวน 15 กิจกรรม ซึ่ง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. - 11.00 น. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        1. ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัด ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัย ก่อนได้รับการจัด ประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับควรปรับปรุง (x = 13.58) หลังได้รับการ จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ใน ระดับดี (x = 27.17)
        2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการ จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

 สรุปผล
         1. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การ เรียงลำดับและการนับ 2. ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบ ด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ

  อภิปรายผล
        1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยรวมประกอบด้วยด้านการจำแนก ด้านการเรียงลำดับและด้านการนับหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการ จัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ได้โดยเด็กเรียนรู้การใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
         2. ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวมอนเตสซอรี่ในด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดีและสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

    การนำข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
        1. ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางให้ทราบถึงวิธีการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัยตามแนวมอนเตสซอรี่ ซึ่งประกอบด้วย 15 กิจกรรม สามารถนำไปปรับใช้เพื่อประกอบการสอนคณิตศาสตร์ได้สำหรับเด็กปฐมวัยในระดับอายุ 5-6 ปีต่อไป
        2. อุปกรณ์ทุกชิ้นควรให้อยู่ในระดับสายตาและมือเด็กที่จะสามารถหยิบได้ด้วยตนเอง
        3. อุปกรณ์ควรอยู่ในตำแหน่งเดิมเสมอ ไม่ควรโยกย้ายหรือเปลี่ยนสลับที่บ่อยเกินไป เพื่อให้เด็กได้สัมผัสถึงความมั่นคงสม่ำเสมอ
        4. ครูควรดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตลอดเวลา
        5. ขณะที่ครูสาธิตบทเรียน ไม่ควรใช้คำพูดที่มากเกินไป เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาคำตอบด้วยตนเอง ครูพึงตระหนักว่าตนเองเป็นเพียงผู้แนะนำหรือชี้แนะเท่านั้น เด็กเป็นผู้ปฏิบัติงานด้วยตนเอง




ดอกไม้สวยๆ Png

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคาร ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - ...